วันเสาร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การเพาะปลูกสับปะรด


การเพาะปลูกสับปะรด

การเตรียมดิน
• พื้นที่เคยปลูกสับปะรด ให้ไถสับใบและต้นทิ้งไว้ประมาณ 2 - 3 เดือน แล้วไถกลบ
• ไถ 1 ครั้ง ตากดิน 7 - 10 วัน พรวน 1 - 2 ครั้ง ยกแปลงสูง 15 เซนติเมตร แล้วทำแนวปลูกสับปะรด
• ถ้าพื้นที่ลาดเอียงมากกว่า 3 เปอร์เซ็นต์ ต้องทำร่องระบายน้ำรองแปลงปลูกเพื่อป้องกันการชะล้างหน้าดิน
• วิเคราะห์ดินก่อนปลูกและปฏิบัติตามคำแนะนำในแต่ละแหล่งปลูก โดยเฉพาะการจัดการอินทรียวัตถุในดิน
วิธีการปลูก
การปลูกด้วยหน่อ
• คัดหน่อให้มีขนาดเดียวกันสำหรับปลูกในแต่ละแปลง เพื่อสามารถเก็บเกี่ยวได้ พร้อมกัน
• ไม่ควรใช้หน่อพันธุ์ที่หักจากต้นแล้วเก็บไว้นานเกินไป
• สามารถบังคับดอกได้เมื่ออายุปลูก 8 - 12 เดือนขึ้นอยู่กับขนาดของหน่อที่ใช้ปลูก
การปลูกด้วยจุก
• ปลูกด้วยจุกที่มีขนาดตั้งแต่ 180 กรัม
• สามารถบังคับดอกได้เมื่ออายุปลูก 10 - 14 เดือน ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาปลูก
การปลูกและระยะปลูก
• ชุบหน่อหรือจุกก่อนปลูก ด้วยสารป้องกันโรครากเน่าหรือต้นเน่าโดยเฉพาะอย่างยิ่งการปลูกช่วงกลางฤดูฝน ตามคำแนะนำ
• ปลูกแถวคู่ ระยะปลูก 30 x 30 x (80-90) เซนติเมตร ปลูกได้ประมาณ 7,500 - 8,500 ตันต่อไร่ แต่ไม่ควรเกิน 12,000 ตันต่อไร่
การให้น้ำ
• ไม่จำเป็นต้องให้น้ำถ้ามีปริมาณน้ำฝนสม่ำเสมอตลอดฤดูกาล
• ในฤดูแล้งหรือฝนทิ้งช่วงควรให้น้ำต้นสับปะรดที่กำลังเจริญเติบโต สัปดาห์ละ 1-2 ลิตรต่อต้น
• หลังใส่ปุ๋ยครั้งสุดท้าย ถ้าไม่มีฝนต้องให้น้ำ เพื่อให้ต้นสับปะรดใช้ปุ๋ยให้หมด
• ควรให้น้ำก่อนและหลังการออกดอก
• หยุดให้น้ำก่อนเก็บเกี่ยว 15-30 วัน 

การเพาะปลูกกวางตุ้ง


การเพาะปลูกกวางตุ้ง
การเตรียมดิน
เนื่องจากผักกาดเขียวกวางตุ้งเป็นผักที่มีระบบรากตื้น ดังนั้นในการเตรียมดินควรขุดไถดินให้ลึกประมาณ 15-20 เซนติเมตร แล้วทำการตากดินทิ้งไว้ประมาณ 5-7 วัน ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่ย่อยสลายตัวแล้วให้มาก คลุกเคล้าให้เข้ากันดี แล้วทำการไถพรวนให้ดินละเอียด ในกรณีที่ดินมีสภาพเป็นกรดก็ควรใส่ปูนขาวเพื่อปรับระดับ pH ของดินให้เหมาะสม ขนาดของแปลงปลูกกว้าง 1 เมตร ยาวประมาณ 10 เมตร หรือ ตามความเหมาะสม
การปลูก
ในการปลูกผักกาดเขียวกวางตุ้งนิยมทำกัน 2 วิธีด้วยกัน คือ
1. การปลูกแบบหว่านเมล็ดโดยตรง วิธีนี้นิยมใช้ในการปลูกแปลงที่ยกร่อง มีร่องน้ำกว้าง และพื้นที่ควรมีการเตรียมอย่างดี และเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ เนื่องจากเมล็ดพันธุ์ผักกาดเขียวกวางตุ้งมีขนาดเล็กมาก ดังนั้นก่อนหว่านควรผสมกับทรายเสียก่อน โดยใช้เมล็ดพันธุ์ 1 ส่วนผสมกับทรายสะอาด 3 ส่วน แล้วหว่านให้กระจายทั่วแปลงสม่ำเสมอแล้วหว่านกลบด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักหนาประมาณ 1/2-1 เซนติเมตร หลังจากนั้นคลุมด้วยฟางข้าวบางๆ เพื่อช่วยเก็บรักษาความชุ่มชื้นในดิน เสร็จแล้วรดน้ำให้ชุ่มหลังจากงอกได้ประมาณ 20 วัน ควรทำการถอนและจัดให้มีระยะระหว่างต้น 20-25 เซนติเมตร
2. การปลูกแบบโรยเมล็ดเป็นแถว การปลูกวิธีนี้หลังจากเตรียมดินแล้วจึงทำร่องลึกประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร ให้เป็นแถวโดยให้ระยะระหว่างแถวห่างกัน 20-25 เซนติเมตร นำเมล็ดพันธุ์ผสมกับทราย แล้วทำการโรยหรือหยอดเมล็ดเป็นแถวตามร่อง แล้วกลบด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักบางๆ คลุมด้วยฟางข้าวบางๆ รดน้ำให้ชุ่มด้วยสม่ำเสมอ หลังจากปลูกได้ประมาณ 20 วัน หรือต้นกล้ามีใบ 4-5 ใบ จึง่ทำการถอนแยกในแถว โดยพยายามจัดระยะระหว่างต้นให้ห่างกันประมาณ 20-25 เซนติเมตร ให้เหลือหลุมละ 1 ต้น

การดูแลรักษา

การให้น้ำ เนื่องจากผักกาดเขียวกวางตุ้งเป็นผักที่ต้องการน้ำมาก และมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ดังนั้นเกษตรกรจะต้องให้น้ำอย่างพึงพอและสม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง โดยใช้ระบบพ่นฝอยหรือใช้สายยางติดหัวฝักบัว อย่าให้ผักกาดเขียวกวางตุ้งขาดน้ำในระยะการเจริญเติบโต เพราะจะทำให้ผักกาดเขียวกวางตุ้งชะงักการเจริญเติบโตได้
การใส่ปุ๋ย เนื่องจากผักกาดเขียวกวางตุ้งเป็นผักกินใบและก้านใบ ดังนั้นการใส่ปุ๋ยควรใช้ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) หรือแอมโมเนียมซัลเฟต อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ เป็นการเร่งการเจริญเติบโตทางใบและก้านใบให้เร็วขึ้น หรือใช้ปุ๋ยสูตร 20-11-11 หรือสูตรใกล้เคียง ในอัตรา 30-50 กิโลกรัมต่อไร่ หลังจากใส่ปุ๋ยทุกครั้งควรมีการราดน้ำตามทันที อย่าให้ปุ๋ยตกค้าง

การเพาะปลูกเห็ดหูหนู

การเพาะปลูกเห็ดหูหนู

ไม้ที่ใช้เพาะเห็ดหูหนู
ไม้ที่ใช้ควรเป็นไม้เนื้ออ่อน อาจจะเป็นไม้เนื้อแข็งก็ได้ แต่ไม้เนื้ออ่อนจะให้ผลผลิตมากและเร็ว แต่ไม้เนื้อแข็งสามารถเก็บผลผลิตได้นานกว่า ส่วนไม้ที่นิยมใช้กันมากคือ ไม้แค ไม้ทองหลาง ไม้มะม่วง ไม้นนทรีย์ ไม้ขนุน ไม้ทองกวาว ไม้ยางพารา ไม้ก้ามปู ฯลฯ
สถานที่
โรงเรือนที่ใช้มีหลังคาทำด้วยจากหรือแฝก สูง 3-3.50 เมตร จั่วลาด 30 องศา ถ่ายเทอากาศได้ดี ระบายน้ำได้ดี พื้นควรปูด้วยทราย หรือหิน เกล็ดเล็ก ๆ ด้านข้างทำด้วยพลาสติกสานปล่อยลอยชาย จะทำให้สะดวกต่อการควบคุมอุณหภูมิ ความชื้น การระบายอากาศ
อุปกรณ์ที่ใช้อำนวยความสะดวกในการเพาะเห็ด
เครื่องเจาะที่นิยมกันคือ ค้อน สำหรับเจาะไม้ ตรงปลายค้อนจะมีลักษณะคล้ายเหล็กเจาะประเด็น มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-1.2 เซนติเมตร (4-5 หุน) หรือจะใช้เหล็กเจาะประเด็นธรรมดาก็ได้ โดยใช้ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เซนติเมตร (หุน) โดยใช้ค้อนธรรมดาเป็นตัวตอก และเป็นขนาดที่มีฝาปิดรู เป็นพลาสติก ซึ่งมีจำหน่าย สะดวกในการปฏิบัติงาน
ขั้นตอนและวิธีการเพาะเห็ดหูหนูในท่อนไม้
สำหรับขั้นตอนนี้แบ่งแยกออกเป็น
1. สายพันธุ์ของเชื้อเห็ดหูหนูบริสุทธิ์
2. การคัดเลือกท่อนไม้และชนิดของไม้
3. การเจาะรู สำหรับใส่เชื้อเห็ด
4. การใส่เชื้อ และอุดรูท่อนไม้
5. การพักบ่มท่อนไม้เพื่อให้เชื้อเจริญ
6. การเร่งท่อนไม้เพื่อให้เห็ดหูหนูออกดอก
7. การเก็บเกี่ยว และดูแลรักษาให้เกิดดอกในรุ่นต่อไป 

การเพาะปลูกมังคุด

การเพาะปลูกมังคุด

การปลูก
ต้นกล้าที่นำมาปลูก ควรมีความสมบูรณ์ โดยใบคู่สุดท้าย ควรจะเป็นใบที่แก่เต็มที่แล้ว และ ควรเป็นต้นกล้าที่มีอายุประมาณไม่เกิน 2 ปี มีระบบรากแผ่กระจายดี ไม่ขดม้วนงออยู่ก้นถุง ก่อนปลูกควรตัด ใบให้เหลือครึ่งใบทุก ๆ ใบ เพื่อลดการคายน้ำ นำต้นกล้าไปปลูกตรงกลางหลุม ปลูกให้ลึกเท่ากับระดับดินเดิม แล้วพูนดินบริเวณโคนต้นให้เป็นเนินสูงขึ้นมาเล็กน้อย ใช้ไม้ปักเป็นหลักผูกยึดต้นมังคุดไว้กับหลักเพื่อป้องกัน ลมพัดโยก หลังจากนั้นต้องรดน้ำตามทันทีเพื่อช่วยให้เม็ดดินกระชับราก การปล่อยให้ต้นไม้ที่ยังไม่ตั้งตัวถูก ลมพัดโยกไปมา โดยไม่มีหลักยึดจะทำให้ระบบรากไม่เจริญ และต้นมังคุดจะชะงักการเจริญเติบโตมีเปอร์เซ็นต์ การตายสูง นอกจากนี้แล้วต้นมังคุดที่เพิ่งปลูกจะไม่ทนต่อแสงแดด และความร้อนสูงต้องใช้ทางมะพร้าว หรือจากช่วยพรางแสงแดดให้กับต้นมังคุด จนกว่าจะมีขนาดโตพอประมาณและตั้งตัวได้แล้วจึงค่อยปลดออก ซึ่งจะกินเวลาประมาณ 2 ปี
ในระหว่างที่รอมังคุดใหัผลผลิตในระยะ 1-4 ปีแรก อาจจะปลูกพืชแซมเพื่อเสริมรายได้ โดยการ ปลูกพืชผักหรือไม้ผลอายุสั้น เช่น กล้วย มะละกอ สับปะรด เป็นต้น ในสวนที่ไม่ได้ปลูกพืชแซมควรปล่อยให้ มีหญ้าขึ้นตามธรรมชาติและคอยควบคุม โดยการตัด หรืออาจจะปลูกพืชคลุมดิน เพื่อเป็นการรักษาหน้าดิน และ ความชื้นภายในดิน เช่น ถั่วลาย เพอราเลีย คุดชู (หรือซีลูเรียม) ก็ได้ โดยหว่านเมล็ดพันธุ์ในอัตรา 2-3 กก./ไร่ และต้องคอยคุมไม่ให้เถาเลื้อยพันต้นมังคุด
การให้น้ำ
ต้นมังคุดปลูกใหม่ในระยะแรก จะขาดน้ำไม่ได้ ต้องคอยดูแลรดน้ำ ให้ดินมีความชื้นอยู่เสมอ หากฝนไม่ตก หลังจากนั้นเมื่อต้นมังคุดตั้งตัวได้ดีแล้ว อาจเว้นระยะห่างออกไปบ้าง ปริมาณและความถี่ ของการให้น้ำขึ้นกับสภาพความชื้นของดินและเมื่อเข้าสู่ฤดูแล้งควรหาวัสดุ เช่นหญ้าแห้ง ฟางแห้ง คลุมบริเวณ โคนต้นเพื่อรักษาความชื้นให้กับดิน

สำหรับมังคุดต้นโตและให้ผลผลิตแล้ว ยังจำเป็นต้องดูแลเรื่องการให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ แต่ในช่วง ปลายฤดูฝนย่างเข้าสู่ฤดูหนาวฝนจะตกน้อยลงต้องดูแลเป็นพิเศษ (ประมาณเดือนพฤศจิกายน ในภาคตะวัน ออกและเดือนมกราคมในภาคใต้) เพราะช่วงนี้มังคุดต้องการสภาพแห้งแล้ง เพื่อพักตัวและสะสมอาหารเตรียม การออกดอก ให้กำจัดวัชพืชและทำความสะอาดบริเวณโคนต้นเพื่อช่วยให้ดินแห้งเร็วขึ้น ควบคุมการให้น้ำโดย ให้ในปริมาณเพียงเล็กน้อย แต่ต้องระวังอย่างดน้ำจนใบมังคุดเหี่ยวเฉา และเมื่อต้นมังคุดผ่านสภาวะแห้งแล้ง มาได้ระยะหนึ่ง มังคุดจะเริ่มทยอยออกดอกและติดผลในเวลาต่อมาตลอดช่วงการเจริญของผลมังคุดต้อง ดูแลให้น้ำอย่างสม่ำเสมออาจจะให้วันเว้นวันหรือวันเว้นสองวัน เพื่อให้มังคุดเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และ ป้องกันปัญหาเรื่องผลแตกยางไหล ในกรณีที่ให้น้ำโดยการลากสายยางรดควรพ่นน้ำเข้าไปในทรงพุ่มให้ทั่ว จะช่วยลดการทำลายของเพลี้ยไฟและไรแดง ได้บ้าง
ระบบการให้น้ำถ้าเป็นสวนไม่ใหญ่นักอาจจะ ใช้วิธีลากสายยางรดน้ำได้ แต่ถ้าเป็นสวนขนาด ใหญ่ควรมีการวางระบบการให้น้ำในแต่ละต้นด้วย หัวเหวี่ยงขนาดเล็กก็จะสะดวกขึ้นและเป็นการ ประหยัดเวลาและ แรงงานในการให้น้ำ ตลอดจนประหยัดน้ำได้เป็นอย่างดี
การใส่ปุ๋ย
การใส่ปุ๋ยมังคุดที่ยังไม่ไห้ผล ให้ใส่ปุ๋ยบัวทิพย์ สูตร 2 ในต้นมังคุดที่มี อายุ 1-2 ปี ให้ใส่ปุ๋ยประมาณ 1/2-1 กิโลกรัม/ต้น และเพิ่มขึ้นประมาณ 1/2 กิโลกรัม/ต้น/ปี โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง ในตอนต้นและปลายฤดูฝน ให้ใส่ปุ๋ยหลังจากตัดแต่งกิ่ง และกำจัดวัชพืชแล้วและใส่ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์
การใส่ปุ๋ยมังคุดที่ให้ผลแล้ว ปริมาณการใส่ปุ๋ยให้พิจารณาจากอายุต้น ความอุดมสมบูรณ์ของต้น ชนิดของดิน และปริมาณผลผลิตที่เก็บเกี่ยวในฤดูที่ผ่านมา โดยจะให้ใน 3 ช่วง ดังนี้
การใส่ปุ๋ยหลังเก็บผลเสร็จแล้ว จะต้องรีบตัดแต่งกิ่ง และกำจัดวัชพืชโดยเร็ว และให้ใส่ปุ๋ยบัวทิพย์ สูตรต้นละ 2-3 กิโลกรัม และปุ๋ยอินทรีย์ เช่นมูลสัตว์เก่าต้นละ 2-3 ปี๊บ การใส่ปุ๋ยครั้งนี้จะตรงกับช่วงฤดูฝน เพื่อป้องกัน น้ำฝนชะพาให้ปุ๋ยสูญเสีย ควรใส่ปุ๋ยเป็นหลุม ๆ โดยใช้จอบขุดดินเป็นหลุมหยอดปุ๋ยแล้วกลบปิด ปากหลุม ทำเป็นระยะ ๆ รอบทรงพุ่ม หลังจากนั้นแล้วมังคุดจะเริ่มแตกใบอ่อน ซึ่งลักษณะการแตกใบอ่อนในสภาพ ธรรมชาตินั้นมังคุดจะทยอยแตกใบอ่อน จะไม่แตกพร้อมกันในทีเดียว ซึ่งเกษตรกรจะต้องคอยระมัดระวัง ตรวจดูการทำลายของโรคแมลง และทำการป้องกันกำจัดอย่างเหมาะสม เพื่อให้ใบอ่อนของมังคุดได้พัฒนา ไปเป็นใบแก่ที่สมบูรณ์ต่อไป ตามปกติมังคุดจะแตกใบอ่อน 1-2 ครั้ง ก่อนที่จะเข้าสู่ระยะพักตัวเพื่อออกดอก ในรอบต่อไป

การเพาะปลูกแตงโม



การเพาะปลูกแตงโม
การเตรียมดินปลูก
เกษตรกรจะเตรียมดินโดยการไถพรวน 2 ครั้ง โดยการว่าจ้างรถแทรกเตอร์หรือรถไถนาเดินตาม ครั้งแรกไถดะ ความลึก 30-40 เซนติเมตร แล้วตากดินทิ้งไว้ 1-2 สัปดาห์ เพื่อฆ่าเชื้อโรค ไข่ของแมลงและตัวหนอน รวมทั้งวัชพืช จากนั้นทำการไถพรวนอีกครั้ง พร้อมหว่านปูนขาวและปุ๋ยคอกลงไปในแปลงปลูกเพื่อปรับสภาพดิน แล้วทำการยกแปลงปลูกความกว้าง 70-80 เซนติเมตร ความยาวแปลงปลูกขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ บางระยะจะใช้ผ้าพลาสติกคลุมแปลงปลูกเพื่อรักษาความชื้นและป้องกันวัชพืช
การปลูก
การปลูกแตงโมมีวิธีการปลูก 2 แบบ คือ
1. การปลูกโดยการหยอดเมล็ดลงหลุมปลูก วิธีนี้จะมีการปลูกไม่มากนัก
2. การปลูกโดยการเพาะเมล็ดในถาดเพาะหรือเพาะลงถุงพลาสติก โดยใช้ดินผสมเป็นวัสดุเพาะ หยอดเมล็ดลงถาดเพาะหรือถุง 1-2 เมล็ด เมื่อต้นกล้ามีอายุ 2-3 สัปดาห์ ก็ทำการย้ายปลูกลงแปลงปลูก
การปลูกลงแปลงปลูก ระยะระหว่างต้น 80-90 เซนติเมตร ระยะระหว่างแถว 2-3 เมตร  
การดูแลรักษา
การให้น้ำ
แตงโมต้องการความชุ่มชื้นในการเจริญเติบโต ในการปลูกในช่วงฤดูแล้งจึงจำเป็นต้องดูแลความชุ่มชื้นของดินปลูก วิธีการให้น้ำโดยการปล่อยน้ำไปตามร่องแปลงปลูก 3-5 วันต่อครั้ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพดินปลูก การให้น้ำมากเกินไปอาจทำให้เกิดปัญหาเชื้อราได้ง่าย


การใส่ปุ๋ย
ในระยะเตรียมดินมีการใช้ปุ๋ยคอกรองก้นหลุมเป็นการเพิ่มธาตุอาหารในดิน และช่วยทำให้ดินปลูกโปร่งมีการอุ้มน้ำดีขึ้น นอกจากนั้นจะมีการใส่ปุ๋ยเคมีเพื่อเพิ่มธาตุอาหารเพื่อการเจริญเติบโตของแตงโม เวลาในการใส่ปุ๋ยมี 2 ครั้ง หลังการปลูก

การเพาะปลูกดอกลีลาวดี

การเพาะปลูกดอกลีลาวดี

การขยายพันธุ์ลีลาวดี
1. การเพาะเมล็ด จะใช้ฝักที่แก่จัด ส่วนใหญ่ใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ ซึ่งเมล็ดลีลาวดีงอกได้ง่าย แต่ละฝักของลีลาวดีจะได้ต้นกล้าประมาณ 50 -100 ต้น สามารถเพาะในกระถางเพาะได้เลย ข้อดี ของการเพาะเมล็ดลีลาวดี คือ จะได้ต้นที่กลายพันธุ์ หรือ ต้นลีลาวดีแคระ ด่าง
2. การปักชำ เป็นวิธีที่ง่าย รวดเร็วในการขยายพันธุ์ต้นลีลาวดีและยังเป็นวิธีรักษาพันธุ์เดิมเอาไว้
3. การเปลี่ยนยอด จะใช้ในกรณีที่ได้พันธุ์ดีแล้วนำมาเปลี่ยนยอดบนต้นตอที่เพาะกล้าไว้แล้วอาจจะเสียบ ข้างหรือผ่าเป็นลิ่ม วิธีนี้ต้องป้องกันไม่ให้น้ำเข้า ไม่เช่นนั้นแผลจะเน่า
4. การติดตา ใช้ในกรณีที่ได้ตามีไม่มากนัก เป็นการขยายพันธุ์แบบประหยัด กิ่งหนึ่งสามารถขยายพันธุ์ ได้เป็นจำนวนมาก
การปลูกในกระถาง
ลีลาวดีตอบสนองต่อวัสดุปลูกที่มีความอุดมสมบูรณ์ ระบายน้ำดี มีอินทรียวัตถุสูง และได้รับปุ๋ย เสริมตามความเหมาะสม สัดส่วนของวัสดุปลูกที่แนะนำโดยทั่วไปคือ 2:1:1 โดยใช้ มูลวัวที่ย่อยสลายแล้ว ,ใบไม้ผุและดิน แต่วัสดุปลูกที่มีขนาดเล็กละเอียด เมื่อถึงระยะหนึ่งจะอัดตัวแน่นทำให้รากพืชขาดออกซิเจน น้ำขังไม่สามารถระบายได้ ทำให้เกิดโรครากเน่าได้ การปลูกลงดินในแปลงปลูก ระยะปลูกในการปลูกลงในแปลงเพื่อเป็นการเก็บสะสมสายพันธุ์ดี หรือปลูกเพื่อขุดล้อมจำหน่าย การปลูกลีลาวดีต้นหนึ่งต้องใช้พื้นที่ประมาณ 5 ตารางเมตร ดินที่เหมาะสมในการปลูกลีลาวดี ควรเป็นดินร่วนปนทราย ดินควรมีปริมาณอินทรียวัตถุที่เหมาะสม สามารถดูดความชื้นได้ ในขณะเดียวกันต้องมีการระบายน้ำที่ดี ความเป็นกรดด่างที่เหมาะสมอยู่ใน ช่วง 6.5 - 7.5 แต่ถ้าดินไม่เป็นกรดหรือด่างจัดมากก็ไม่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของลีลาวดีมากนัก

การดูแลรักษา
ลีลาวดี สามารถเจริญเติบโตได้ดี ในสภาพแวดล้อมที่กันดาร ดินไม่อุดมสมบูรณ์มากนัก แต่ถ้าต้องการให้ ลีลาวดีออกดอกได้ดี ควรนำไปปลูกในกระถางและใช้ดินที่เป็นกรดเหมือนกับพืชเขตร้อนทั่วไป ลีลาวดีชอบ ความชื้นในอากาศสูงและไม่ชอบอยู่ในดินที่มีน้ำท่วมขังหรือมีการรดน้ำบ่อยครั้ง การปลูกควรเน้นการระบาย น้ำหรือการยกร่องในแปลงปลูกเป็นหลัก ลีลาวดีเป็นพืชที่ต้องการแสงแดดในเวลากลางวันอย่างน้อยครึ่งวัน แต่หลายชนิดต้องการแสงแดดเต็มวัน ยกเว้นบางชนิดที่มีดอกสีแดงซึ่งจะชอบการพรางแสงมากกว่า
1.การให้น้ำ
การปลูกในกระถาง การให้น้ำ ควรให้จนดินเปียกทั่วถึง จนน้ำส่วนเกินระบายออกทางรูระบายน้ำ แล้วปล่อย ให้วัสดุปลูกแห้งก่อนการให้น้ำครั้งต่อไป หรือช่วงแล้งจัด อาจเว้นวัน และควรตรวจดูความชื้นของวัสดุปลูก อยู่เสมอ การปลูกลงดิน ควรให้น้ำแต่น้อยให้ประมาณสัปดาห์ละครั้ง ขึ้นอยู่กับสภาพความชื้นในอากาศ ถ้าอากาศร้อนควรให้น้ำมากกว่าปกติ เพื่อรักษาความเขียวของใบ แต่การให้น้ำมากเกินไปมีผลต่อการเจริญ เติบโตทางกิ่งก้านมากและทำให้ไม่ออกดอก
2.การให้ปุ๋ย
เนื่องจากต้นลีลาวดีที่สวยและมีราคาสูงนั้น จะต้องมีฟอร์มต้นที่ดีคือมีลักษณะของทรงพุ่มกลมมีกิ่ง ก้านสาขาแตกออกดูแล้วมีความพอดีกับความสูงของต้น ดังนั้นการให้ปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินไปจะทำให้ต้นสูง ชะลูดและไม่แทงช่อดอกในเวลาอันควร ในการที่จะเร่งการเจริญเติบโตทั้ง ทางใบ ลำต้น และดอก คือการใช้ปุ๋ย ไนโตรเจน ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมในอัตราส่วนที่เท่ากัน หรือให้ฟอสฟอรัสสูงและให้ธาตุอาหารรองที่จำ เป็นต่อลีลาวดีคือ แมกนีเซียม ทองแดง เหล็ก สังกะสี กำมะถัน และแมงกานีส 

การเพาะปลูกแตงไทย


การเพาะปลูกแตงไทย

การปลูกแตงไทย
การเตรียมเพาะกล้า
นำเอาเมล็ดแตงไทยห่อหุ้มด้วยผ้าเปียกน้ำผสมน้ำสกัดชีวภาพเจือจาง 1 ต่อ 1,000 นาน 2 คืน เมล็ดจะงอกราก
การเตรียมถุงเพาะ
ดินร่วนซุย 1 ปีบ ปุ๋ยหมักชีวภาพ 1 ปีบ แกลบดำ 1 ปีบ ผสมให้เข้ากันใส่ถุงเพาะกล้ารดน้ำให้ชุ่ม หยอด
เมล็ดแตงไทยลงไปเพาะจนต้นกล้ามีใบแท้ 2 ใบ หรือประมาณ 2 วัน ก็เอาไปปลูกได้
วิธีการปลูกและการเตรียมดิน
1. ถ้าปลูกในพื้นที่กว้าง ไม่ต้องยกร่อง ให้ทำร่องระบายน้ำป้องกันน้ำฝนท่วม
2. เตรียมหลุมให้ห่างกัน 1.50 x 1.50 เมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยหมักชีวภาพ 1 กก. ต่อหลุมคลุมด้วยฟาง รดน้ำ
3. แยกฟางออก แล้วปลูกต้นกล้าลงหลุม ๆ ละ 1 ต้นรดน้ำผสมน้ำหมักชีวภาพ
4. เติมปุ๋ยหมักชีวภาพ 1 กำมือ ต่อต้น ทุกสัปดาห์ แล้วรดน้ำผสมน้ำหมักชีวภาพ
5. เมื่อแตงไทยมีใบจริง 4 ใบให้เด็ดยอดออก ต่อมาจะมียอดแขนงแตกออกมา 4 เถา
เมื่อ 4 เถาเลื้อยทอดยอดยาว 2 ฟุต ให้เด็ดยอดอีก จะมีเถาแขนงแตกออกมาอีก เถาแขนงรุ่น 3
จะมีผลที่ใบที่ 1 และใบที่ 2 เมื่อผลโตประมาณเท่าปากกา ให้ใช้ฟางคลุมผลเมื่ออำพลางแมลงวันทอง
แล้วเด็ดยอดแขนงที่มีผลนี้ เพื่ออาหารไม่ต้องเลี้ยงยอด ทำให้ผลโตเร็ว
6. เมื่อผลโตเท่ากำปั้น ให้รองก้นด้วยฟางป้องกันแมลงเสี้ยนดิน
7. แตงไทย 1 ต้นจะให้ผลมากกว่า 10 ผล
8. ควรปลิดผลที่ไม่สวย หรือมีตำหนิทิ้ง
9. ถ้าต้องการขายผลแตงอ่อนให้เด็ดยอดเถาทุกวัน
10. ควรฉีดสะเดาหมักป้องกันแมลงเต่าทอง ตอนต้นแตงยังอ่อน มีเถายางประมาณ 1- 2 ฟุต

การเพาะปลูกดอกมะลิ


การเพาะปลูกดอกมะลิ

การปลูก
ควรจะปลูกให้มะลิได้รับแสงแดดเต็มที่ เพื่อดอกจะได้ดกตามต้องการ
นิยมปลูกในช่วงต้นฤดูฝน ประมาณเดือนมิถุนายน- กรกฎาคม
มะลิชอบดินร่วนซุยมีการระบายน้ำดี มีอินทรีย์วัตถุและธาตุอาหารสมบูรณ์
หากจะปลูกมะลิให้มีอายุยืนยาว ควรขุดหลุมลึก กว้าง และยาวด้านละ 50 เซนติเมตร ใส่ปุ๋ยคอก ใบไม้ผุหรือปุ๋ยหมัก และวัสดุอื่น ๆ ในอัตราส่วน 1:1:1 พร้อมกับเติมปุ๋ยซุปเปอร์ฟอสเฟต (0-46-0) และปุ๋ยผสมสูตร 15-15-15 อย่างละ 1 กำมือ คลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วใส่กลับลงไปในหลุมใหม่ ทิ้งไว้ประมาณ 7-10 วัน จึงนำเอาต้นมะลิที่ซื้อมา หรือได้จากการปักชำลงปลูก
การดูแลรักษา
1. การกำจัดวัชพืช ปกติชาวสวนนิยมใช้กรัมม๊อกโซนฉีดตามร่องปลูกทุกเดือน โดยไม่ให้โดนต้นมะลิ
2. การใส่ปุ๋ย ให้ใช้ปุ๋ยสูตรเสมอ เช่น ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 อัตราการใส่ปุ๋ยขึ้นอยู่กับขนาดของทรงพุ่ม ใส่เดือนละครั้ง โดยการหว่านและรดน้ำตามด้วย
3. การตัดแต่ง หลังจากปลูกมะลิไปนาน ๆ แล้วมะลิจะแตกกิ่งก้านสาขามากมาย ควรตัดแต่ทรงพุ่มให้โปร่ง รวมทั้งตัดกิ่งที่แห้งและตายออกด้วย จะช่วยให้มะลิมีทรงพุ่มสวยงาม โรคและแมลงลดน้อยลง มะลิมีอายุยืนยาวขึ้น ให้ดอกมากขึ้น พร้อมทั้ง จะช่วยให้เกษตรกรมีความสะดวกในการปฏิบัติงานอีกด้วย
4. การให้น้ำ มะลิจะต้องการน้ำพอสมควร หากดินยังแฉะอยู่ไม่ควรรดน้ำ ควรรอจนกว่าดินจะแห้งหมาด ๆ เสียก่อน ทั้งนี้อาจให้น้ำวันละ 1-2 ครั้งหรืออาทิตย์ละครั้งก็ได้ขึ้นอยู่กับสภาพของดิน โดยให้รดน้ำในตอนเช้า แต่ระวังอย่าให้น้ำท่วม หรือมีน้ำขังอยู่ในแปลงนาน ๆ เพราะจะทำให้ต้นมะลิแคระแกร็น ใบเหลือง และตายได้ 

การเพาะปลูกชมพู่


การเพาะปลูกชมพู่

การปลูก
การเตรียมแปลงปลูก 
ในการปลูกชมพู่สามารถปลูกได้ทั้งแบบยกร่องในที่ราบลุ่มภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก ซึ่งการปลูกแบบยกร่องนี้ส่วนหลังร่องกว้างประมาณ 3 เมตร ร่องน้ำกว้าง 1 - 1.50 เมตร มีแนวชายร่องข้างละ 0.50 เซนติเมตร ซึ่งหลังยกร่องแล้วควรตากดินไว้ 1 เดือน แล้วจึงพลิกหน้าดินให้ดินล่างลงไปอยู่ด้านล่างและดินบนซึ่งถูกทับขณะขุดร่องกลับมาอยู่ด้านบนตามเดิม ช่วงพลิกดินนี้เองชาวสวนสามารถทำการปรับสภาพดินโดยใส่ปูนขาวและใส่ปุ๋ยคอกลงไปในดินได้เลย
สำหรับพื้นที่ดอนควรไถพรวนพร้อมทำการปรับสภาพดินและใส่ปุ๋ยคอกไปเลย
กำหนดระยะปลูก
2.1 แบบยกร่องนั้น ส่วนใหญ่ใช้ระยะห่างระหว่างต้น 4 เมตร
2.2 บนพื้นที่ดอนใช้ระยะ 4 * 4 เมตร หรือ 6 * 6 เมตร แล้วแต่สภาพความอุดมสมบูรณ์ของดินด้วย ถ้าดินอุดมสมบูรณ์ควรปลูกระยะ 6 * 6 เมตร
การเตรียมหลุมปลูก
โดยทั่ว ๆ ไปหลุมปลูกจะใช้ขนาด 50 * 50 * 50 กว้าง * ยาว * ลึก โดยแยกดินหน้าไว้ข้างหนึ่งและดินล่างไว้อีกข้างหนึ่ง แล้วเอาปุ๋ยคอกประมาณ 50 กิโลกรัม ผสมกับหน้าดินอัตราส่วน 1 : 1 และปุ๋ยร็อคฟอสเฟต 500 กรัม กลบลงไปในหลุมจนพูน
การปลูก
นำต้นพันธุ์ชมพู่ที่คัดเลือกไว้แล้ว นำมาถอดภาชนะเพาะชำออกแล้ว ตรวจดูว่ามีรากขดหรือไม่แล้วขยายรากออก หันทิศทางของกิ่งให้เหมาะสม แล้วฝังลงในดินในหลุมที่เตรียมไว้ โดยให้ระดับสูงกว่าระดับดินเดิมเล็กน้อย แล้วนำดินล้างมาเติมบนปากหลุมจนพูน แล้วอัดดินให้แน่นปักไม้และผูกเชือกยึดลำต้น พร้อมปักทางมะพร้าวพรางแสงในทิศทางตะวันออกและตะวันตก เสร็จแล้วรดน้ำให้ชุ่มทันที เพื่อป้องกันไม่ให้ต้นชมพู่ที่ปลูกใหม่เหี่ยวเฉาได้ หลังจากชมพูตั้งตัวได้แล้วจึงค่อยนำทางมะพร้าวออก
การปฏิบัติดูแลรักษา
การให้น้ำ เนื่องจากชมพู่เป็นพืชชอบน้ำ ดังนั้นในการผลิตชมพู่จึงจำเป็นต้องมีการให้น้ำชมพู่อย่างสม่ำเสมอ 
วิธีการใส่ปุ๋ย
1. ปุ๋ยคอก นอยมหว่านในบริเวณทรงพุ่มและนอกทรงพุ่มเล็กน้อย ซึ่งควรมีการพรวนดินห่างจากชายทรงพุ่มออกไปเล็กน้อย ประมาณ 30 เซนติเมตร
2. ปุ๋ยเคมี ขุดเป็นวงแหวนรอบชายทรงพุ่ม หรือเจาะเป็นหลุม ๆ ตามแนวทรงพุ่ม แล้วโรยปุ๋ยลงไปแล้วกลบดินเพื่อป้องกันการสูญเสียปุ๋ยไป โดยการระเหิดหรือถูกชะล้างโดยน้ำที่ให้หรือฝนตก
3. ปุ๋ยทางใบ ควรผสมปุ๋ยตามฉลากแนะนำ ควรผสมสารจับใบ และควรทำการฉีดพ่นในช่วงเช้าก่อนแดดจัด ไม่ควรใช้ปุ๋ยทางใบในอัตราที่เข้มข้นมากเกินไป เพราะจะทำให้ชมพู่ใบไหม้ได้ 


การเพาะปลูกกระหล่ำดอก


การเพาะปลูกกระหล่ำดอก

การปลูกกะหล่ำดอก
กะหล่ำดอกเป็นผักที่มีระบบรากตื้น การเตรียมดินเพียงขุดดินให้ลึกประมาณ 15-20 เซนติเมตร ตากดินไว้ประมาณ 5-7 วัน เก็บเศษหญ้า เศษวัชพืชออกให้หมด ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วคลุกเคล้าลงไปในดิน พรวนย่อยหน้าดินให้มีขนาดเล็ก แต่ไม่ควรละเอียดเกินไป ถ้าดินเป็นกรดควรใส่ปูนขาวเพื่อปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดินให้อยู่ในช่วงที่เหมาะสม ยกเป็นแปลงๆ พร้อมที่จะนำต้นกล้าลงปลูก
เมื่อต้นกล้ามีใบจริง 3-4 ใบ อายุได้ประมาณ 30-40 วัน ต้นสูงประมาณ 10-12 เซนติเมตร จึงทำการย้ายกล้าปลูกลงแปลง ไม่ควรปล่อยให้ต้นกล้ามีอายุแก่เกินไป จะทำให้รากเกิดการกระทบกระเทือนได้ง่ายขณะทำการย้าย มีผลให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต ก่อนย้ายต้นกล้าให้รดน้ำบนแปลเพาะกล้าให้ชุ่มแต่ไม่แฉะ ควรเลือกย้ายกล้าในวันที่แสงแดดไม่จัด และย้ายในเวลาเย็นหรือช่วงอากาศมืดครึ้ม เพื่อหลีกเลี่ยนการคายน้ำมากเกินไปของต้นกล้า ซึ่งจะทำให้กล้าเหี่ยวตายได้
การปลูกโดยใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 40 เซนติเมตร ระหว่างแถว 60 เซนติเมตร โดยปลูกเป็นหลุมบนแปลง หลังจากปลูกควรกลบดินกดบริเวณโคนต้นให้แน่น จากนั้นใช้ฟางหรือหญ้าแห้งคลุมโคนต้น เพื่อช่วยเก็บรักษาความชื้นในดิน รดน้ำให้ชุ่ม ส่วนในพื้นที่ที่มีแสงแดดจัดควรหาที่ปังแดดให้ ซึ่งอาจใช้ทางมะพร้าวคลุมไว้ประมาณ 3-5 วัน จึงเอาทางมะพร้าวออก

Profile


ประวัติส่วนตัว
ชื่อ ธิษณวรรณ  นาคมุสิก
 ชั้น ม.4/10  เลขที่ 38
ชื่อเล่น  ปอ
เกิดวันพุธ  ที่ 12  สิงหาคม  2541
งานอดิเรก  ฟังเพลง   อ่านการ์ตูน  
ประสบการณ์ที่น่าอาย  เคยลื่นล้มบนรถเมล์
สีที่ชอบ  สีเหลือง
ศิลปินที่ชอบ  EXO
นักแสดงที่ชอบ  Xiao Luhan
อาหารที่ชอบ  ข้าวผัด
ที่ที่อยากไป  ปักกิ่ง  ประเทศจีน
ภาพยนตร์ที่ชอบ   Titanic  Sugarless

เพลงที่ชอบ  เพลงของ  Exo ทุกเพลง