วันอังคารที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2558

สรุปการศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ (Research and Knowledge Formation)

ชื่อ นางสาว ธิษณวรรณ สกุล นาคมุสิก เลขที่ 37 ห้อง ม.5/10
กลุ่มที่  5
ปัญหาที่นักเรียนศึกษา อุบัติเหตุบนท้องถนน
ที่มาและความสำคัญของปัญหา
      อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบ่อยๆในชีวิตประจำวันนั้น มักมีสาเหตุมาจากหลายสาเหตุด้วยกัน แต่จากสถิติของกรมทางหลวงพบว่า สาเหตุที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนมากที่สุดคือ การขับรถเร็ว รองลงมาคือ การขับรถระยะกระชั้นชิด แต่สาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุบนื้องถนนอาจเกิดจากตัวบุคคลเอง เช่น ไม่ปฏิบัติตามกฎจราจร ขับรถไม่ชำนาญ เป็นต้น สาเหตุจากสภาพแวดล้อม เช่น ถนนเป็นบ่อหรือหลุม แสงไฟบนท้องถนนมืดเกินไป ฝนตกหนัก เป็นต้น
      ปัญหาอุบัติเหตุบนท้องถนนถือเป็นปัญหาใหญ่มากในปัจจุบัน เพราะสถิติผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนมีมากเป็นอันดับต้นๆของประเทศเลยทีเดียว ควรมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด ควรมีการจับกุมแบบจริงจัง เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนและลดอัตราการเสียชีวิตของประชากรจากอุบัติเหตุบนท้องถนน
วัตถุประสงค์
1.เพื่อศึกษาปัญหาอุบัติเหตุบนท้องถนน
2.เพื่อเรียนรู้วิธีการสร้างภาพยนต์สั้น

ผลการศึกษา
      ปัญหาอุบัติเหตุบนท้องถนนเป็นปัญหาที่พบมากในปัจจุบัน เกิดขึ้นกับทุกเพศทุกวัยไม่ว่าจะเด็ก ผู้ใหญ่ คนชรา ซึ่งเกิดจากความประมาทของผู้ขับขี่หรือเกิดจากหลายสาเหตุ และในปัจจุบันควรมีการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนอย่างเคร่งครัดไม่หละหลวม เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนที่มีเพิ่มมากขึ้นทุกๆวัน กลุ่มของพวกเราเลยนำเสนอผลของอุบัติเหตุบนท้องถนนว่ามีผลกระทบอย่างไรบ้างกับคนใกล้ชิดและตัวเอง
       ความหมายของคำว่า "ภาพยนตร์สั้น" ไม่มีคำจำกัดความของคำว่า "ภาพยนตร์สั้น" (short narrative หรือ short film) ที่แน่ชัดว่าคืออะไร แต่อนุโลมกันว่าถ้าภาพยนตร์นั้นมีความยาวต่ำกว่าหนึ่งชั่วโมง ถือว่าเป็นภาพยนตร์สั้นทั้งสิ้น เช่น ภาพยนตร์สั้นๆ (short narrative หรือ short film) ภาพยนตร์สารคดี (documentary film) ภาพยนตร์กึ่งสารคดี (docu-drama) ภาพยนตร์การ์ตูน (animation) ภาพยนตร์ศิลปะ (art film) ภาพยนตร์ทดลอง (experimental film) ภาพยนตร์เพื่อการศึกษา (educational film) ภาพยนตร์โฆษณาทางโทรทัศน์ (television commercial) ฯลฯ ศิลปะภาพเคลื่อนไหว (motion graphic) มิวสิควิดีโอฯลฯ แต่ในที่นี้ ส่วนใหญ่จะพูดถึงภาพยนตร์ศิลปะและภาพยนตร์เรื่องสั้นๆ
จุดเด่นของภาพยนตร์สั้นนั้นก็คือ จะมีอิสระในการแสดงออกทั้งเนื้อหาจะวิพากษ์วิจารณ์การเมือง ศาสนา วัฒนธรรม หรือสังคมอย่างรุนแรงก็ได้ เนื่องจากภาพยนตร์สั้นมักจะฉายชมกันเฉพาะกลุ่ม ส่วนรูปแบบจะวิจิตรพิสดารอย่างไรก็ได้ ดูเข้าใจยากก็ได้เข้าใจง่ายก็ได้ ซึ่งต่างจากภาพยนตร์เรื่องยาวที่จะต้องดูเข้าใจง่าย เป็นเรื่องราวที่น่าติดตามและใช้ดารามีชื่อแสดงนำ สอดคล้องกับความต้องการของตลาดไม่มีฉากอันไม่เหมาะสมที่ทำให้ถูกเซนเซอร์ ภาพยนตร์สั้นที่มีอิสระในการแสดงออกนี่เอง จึงเป็นภาพยนตร์ที่เป็นที่นิยมของคนรักศิลปะโดยทั่วไป
เสนอแนวคิดในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบด้วยองค์ความรู้จากการค้นพบ
      วาดรูปไม่เป็น เป็นปัญหาใหญ่เลย ทำให้ช่วยเพื่อนทำสตอรี่บอร์ดไม่ได้ แต่ก็แก้ปัญหาด้วยการพยายามวาดและวาดเป็นก้างปลาแทน
นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างจากการเรียนวิชา IS

      ได้เรียนรู้วิธีการทำภาพยนตร์สั้น ได้รู้เกี่ยวกับเรื่องอนิเมะต่างๆ รู้เกี่ยวกับการกำกับภาพมุมต่างๆทำให้เข้าใจความหมายของการสื่ออารมณ์ของภาพมากขึ้นกว่าเดิม

วันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

การประยุกต์ใช้แอนิเมชันใช้คอมพิวเตอร์

การประยุกต์ใช้แอนิเมชันใช้คอมพิวเตอร์

การประยุกต์ใช้แอนิเมชันใช้คอมพิวเตอร์ซึ่งเห็นกันได้ทั่วไปมักเป็นทางด้านบันเทิง เช่น ภาพยนตร์การ์ตูนทั้งประเภทแอนิเมชันแบบภาพแวบและแบบสามมิติ เกมคอมพิวเตอร์ทั้งสองมิติและสามมิติ ตลอดจนผลพิเศษ (special effects) ในภาพยนตร์ต่างๆ นอกเหนือจากนี้แล้ว แอนิเมชันใช้คอมพิวเตอร์ได้ถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลาย ในการจำลองแบบ (simulation) ทางด้านวิทยาศาสตร์หลายด้านด้วยกัน คือ

·       การจำลองสิ่งที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่าให้สามารถมองเห็นได้ เช่น การเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนในแบบจำลองโมเลกุล การเจริญเติบโตของเซลล์สิ่งมีชีวิตและการแบ่งตัว

·       การจำลองสิ่งที่ยิ่งใหญ่เกินกว่าที่จะมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าให้สามารถมองเห็นได้ เช่น แบบจำลองของเอกภพ และกลุ่มดาวต่างๆ

·       การจำลองสิ่งที่ไม่สามารถทำให้เกิดขึ้นจริงได้ให้ดูเหมือนจริงได้ เช่น การจำลองภาพอุกกาบาตชนโลก

·       การจำลองปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เช่น การเกิดคลื่น การเกิดพายุหมุน การไหลของน้ำ การสร้างกลุ่มเมฆหมอกหรือควัน การจำลองการเกิดแรงต้านของอากาศที่มีต่อรถไฟใต้ดินที่กำลังแล่นในอุโมงค์

·       การจำลองเพื่อการศึกษาและประโยชน์ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ เช่น การจำลองการชนกันของยานยนต์ เพื่อวิเคราะห์ความเสียหาย (crash analysis) 




การให้แสง-เงา (Shading)

การให้แสง-เงา (Shading)

เป็นการนำแบบจำลองสามมิติ ซึ่งประกอบด้วยรูปหลายเหลี่ยมจำนวนมากมาระบายสี และให้แสง-เงาด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ภาพสมจริง ในขั้นตอนนี้ผู้วาดภาพจะกำหนดลักษณะของวัสดุและสีของรูปหลายเหลี่ยมต่างๆ  ตลอดจนประเภทของการให้แสง-เงา (shading type) หลังจากนั้นโปรแกรมคอมพิวเตอร์จะจัดการสร้างแสง-เงาโดยอัตโนมัติ แต่ภาพที่ได้จากการให้แสง-เงายังคงไม่สมจริงมากนัก    การให้แสง-เงา ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อให้ได้ภาพสมจริง



การลงลายผิวภาพ (Texture mapping)

การลงลายผิวภาพ (Texture mapping)

เป็นการนำลวดลายและสีสันที่สมจริง ซึ่งอาจได้มาจากภาพถ่ายจริงหรือภาพวาดไปส่งจุดภาพ (map) หรือผสมลงบนรูปหลายเหลี่ยมต่างๆ ของแบบจำลองในขั้นตอนการให้แสง-เงาดังได้กล่าวมาแล้ว ซึ่งขั้นตอนนี้เรียกว่า การลงลายผิวภาพสามมิติ (3D texture mapping) ทั้งนี้ สีสันและลวดลายจากของจริงจะถูกผสมลงในแบบจำลองสามมิติ วิธีนี้มีขั้นตอนที่ยุ่งยาก และต้องใช้เวลาในการทำงานของคอมพิวเตอร์มาก เพราะเป็นการนำข้อมูลสีสันลวดลายจากภาพสองมิติ ไปส่งจุดภาพ (map) ลงบนรูปหลายเหลี่ยมต่างๆ จำนวนมากบนแบบจำลองสามมิติ การลงลายผิวภาพนี้สามารถทำในขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการสร้างภาพกราฟิกส์ (rendering) ได้เช่นกัน ซึ่งในขั้นตอนนี้ แบบจำลองสามมิติจะถูกแปลงมาเป็นภาพสองมิติแล้ว การลงลายผิวภาพจะเกิดขึ้นในแบบสองมิติ ซึ่งจำนวนรูปหลายเหลี่ยมที่เกี่ยวข้องกับการแสดงภาพ จะมีจำนวนน้อยกว่าอย่างมาก ทำให้การลงลายผิวภาพทำได้ง่ายและเร็วกว่า การลงลายผิวภาพสามมิติมาก วิธีนี้เรียกว่า การลงลายผิวภาพสองมิติ (2D texture mapping)



วิวัฒนาการของแอนิเมชั่น

วิวัฒนาการของแอนิเมชัน

ดังที่ได้กล่าวในตอนต้นแล้วว่า แอนิเมชันเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมา ดังนั้น ประวัติความเป็นมาของการสร้างแอนิเมชัน จึงพอประมวลได้ ดังนี้

แอนิเมชันกับอารยธรรมมนุษย์

ตั้งแต่ยุคสมัยโบราณมาแล้ว มนุษย์มีความปรารถนาที่จะสร้างภาพการเคลื่อนไหวของสิ่งต่างๆ   ดังเห็นได้จาก การค้นพบภาพเขียนบนผนังถ้ำ ซึ่งเป็นภาพหมูป่าที่มี ๘ ขา โดยจำลองการเคลื่อนไหวของหมูป่า หรือแม้แต่สมัยของกรีกโบราณช่วง ๖๐๐ ปีก่อนคริสต์ศักราช ก็ปรากฏภาพเขียนคนขับรถม้า ที่มีการวาดขาของม้าหลายๆ ขา ทำให้ดูเหมือนม้าที่กำลังวิ่ง  

ภาพศิลปะอันโด่งดังที่ชื่อ “Vitruvius Man” ของ Leonardo da Vinci ถือเป็นงานที่แสดงถึงการจำลองการเคลื่อนไหวของมนุษย์เช่นกัน

เมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๘  จอห์น ไอร์ตัน ปารีส (John Ayrton Paris) และดับบลิว.เอช. ฟิตตัน (W.H. Fitton) ได้ประดิษฐ์ของเล่นชิ้นพิเศษชื่อว่า “Thaumatrope” (เป็นคำที่มาจากภาษากรีกแปลว่า “หมุนมหัศจรรย์”) เป็นภาพกระดาษวงกลม ด้านหนึ่งวาดเป็นรูปนก อีกด้านหนึ่งวาดเป็นรูปกรงและผูกเชือกทั้ง ๒ ด้าน  จากนั้น จึงดึงเชือกให้พลิกไปมาอย่างรวดเร็ว ก็จะเป็นภาพซ้อนหลอกตาให้เห็นว่านกเข้าไปอยู่ในกรงได้อย่างน่ามหัศจรรย์ ของเล่น Thaumatrope จึงนับเป็นสิ่งประดิษฐ์ชิ้นแรกๆ ที่สร้างภาพแอนิเมชันได้อย่างชัดเจน   หลังจากนั้นเป็นต้นมา เทคโนโลยีด้านการบันทึกภาพต่างๆ ได้พัฒนาอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด
ของเล่น "Thaumatrope" (หมุนมหัศจรรย์) เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่สร้างภาพแอนิเมชันได้อย่างชัดเจน

ต่อมา ใน พ.ศ. ๒๔๕๗ วินเซอร์  แมกเคย์ (Winsor McCay) นักวาดการ์ตูนชาวอเมริกัน ได้จัดแสดงภาพยนตร์การ์ตูนแอนิเมชัน ผลงานของตนเองเรื่อง “เจอร์ที เดอะ ไดโนเสาร์” (Gertie the Dinosaur) ที่เมืองชิคาโก สหรัฐอเมริกา โดยแมกเคย์ได้ขึ้นแสดงบนเวทีร่วมกับเจอร์ที (Gertie) ตัวการ์ตูนไดโนเสาร์ที่ถูกฉายภาพบนจอ ด้วยนิสัยของเจอร์ที ตัวการ์ตูนไดโนเสาร์ที่ซุกซนและแสนรู้ ทำให้ผู้ชมเกิดความประทับใจเป็นอย่างมาก จากความสำเร็จของเรื่องนี้ ทำให้ภาพยนตร์แอนิเมชันกลายเป็นจุดสนใจของผู้คนอย่างแพร่หลาย บรรดานักลงทุนจึงหันมาลงทุนผลิตงานแขนงนี้มากขึ้น จนก่อให้เกิดอุตสาหกรรมแอนิเมชันในเวลาต่อมา

ประวัติแอนิเมชั่น

           แอนิเมชันเป็นศาสตร์แห่งศิลปะที่มนุษย์คิดสร้างสรรค์ขึ้นซึ่งปรากฏเป็นหลักฐานมา นับพันปีแล้วและยังคงมีพัฒนาการสร้างศิลปะแอนิเมชันมาอย่างต่อเนื่องจน ปัจจุบัน แอนิเมชัน(Animation)หมายถึงการสร้างภาพเคลื่อนไหวโดยการฉายภาพนิ่ง หลายๆภาพด้วยความเร็วสูงคำว่าAnimationสะกดเป็นภาษาไทยคือแอนิเมชัน(ตาม หลักการใช้คำทับศัพท์ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานที่ไม่ใช้วรรณยุกต์ใน การสะกด)แอนิเมชันเป็นกระบวนการสร้างภาพนิ่งให้เกิดเป็นภาพเคลื่อนไหวได้อย่างมี ชีวิตชีวาซึ่งสามารถทำได้หลายเทคนิคไม่จำกัดว่าต้องทำด้วยคอมพิวเตอร์เสมอไปซึ่ง ผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาชีพแอนิเมชันส่วนใหญ่ได้จำแนกเทคนิคการทำงานของแอนิเมชัน แบ่งออกเป็น2ประเภทใหญ่ๆ คือ


1.แอนิเมชันแบบดั้งเดิม(TraditionalAnimation)เป็นกระบวนการสร้างสรรค์ แอนิเมชันในยุคเริ่มแรกโดยที่ไม่มีการใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาเกี่ยวข้องเช่นการวาดเส้น (Drawing)การระบายสีจริงบนกระดาษ(Painting)แอนิเมชันแบบเซลลูลอยด์หรือแผ่น ใส(CelsAnimation)การปั้นดินน้ำมัน(ClayAnimation)การตัดกระดาษ(PaperCutJoint Cut) ฯลฯ



2. ดิจิทัลแอนิเมชัน,คอมพิวเตอร์แอนิเมชัน(DigitalAnimation,Computer Animation)เป็นกระบวนการผลิตงานภาพเคลื่อนไหวด้วยระบบดิจิทัลโดยใช้คอมพิวเตอร์ เป็นอุปกรณ์หลักในการทำงานตั้งแต่การวาด,การระบายสี,การปั้นโมเดล,การแอนิเมท สร้างภาพเคลื่อนไหวตลอดจนการตัดต่อออกมาเป็นไฟล์ภาพยนตร์ที่สมบูรณ์โดยมีทั้ง แอนิเมชันแบบ2-3มิติ

ขั้นตอนในการทำแอนิเมชัน

การสร้างแอนิเมชันไม่ว่าจะเป็นประเภทใดสามารถแบ่งขั้นตอนการทำได้ ๓ ขั้นตอนใหญ่ๆ คือ

๑. ขั้นตอนเตรียมการก่อนการทำ
๒. ขั้นตอนการทำ   
๓. ขั้นตอนหลังการทำ

๑. ขั้นตอนเตรียมการก่อนการทำ (Preproduction)

เป็นหัวใจสำคัญสำหรับการสร้างเนื้อหาของภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่องนั้นๆ ความสนุก ตื่นเต้น  และอารมณ์ของตัวละครทั้งหลาย จะถูกกำหนดในขั้นตอนนี้ทั้งหมด ดังนั้นในส่วนนี้จึงมีหลายขั้นตอนและค่อนข้างซับซ้อน หลายคนจึงมักกล่าวว่า หากเสร็จงานในขั้นตอนเตรียมการนี้แล้ว ก็เสมือนทำงานเสร็จไปครึ่งหนึ่งแล้ว ในขั้นตอนนี้จะแบ่งเป็น ๔ ขั้นตอนย่อยด้วยกัน  โดยเรียงตามลำดับดังนี้ คือ
เขียนเรื่องหรือบท (story) เป็นสิ่งแรกเริ่มที่สำคัญที่สุดในการผลิตชิ้นงานแอนิเมชันและภาพยนตร์ทุกเรื่อง  แอนิเมชันจะสนุกหรือไม่ ล้วนขึ้นอยู่กับเรื่องหรือบท

๒. ออกแบบภาพ (visual design) หลังจากได้เรื่องหรือบทมาแล้ว ก็จะคิดเกี่ยวกับตัวละครว่า ควรมีลักษณะหน้าตาอย่างไร สูงเท่าใด ฉากควรจะมีลักษณะอย่างไร สีอะไร ในขั้นตอนนี้ อาจทำก่อน หรือทำควบคู่ไปกับบทภาพ (storyboard) ก็ได้

๓. ทำบทภาพ (storyboard) คือ การนำบทที่เขียนขึ้นนั้นมาทำการจำแนกมุมภาพต่างๆ โดยการร่างภาพลายเส้น ซึ่งแสดงถึงการดำเนินเรื่องพร้อมคำบรรยายอย่างคร่าวๆ ซึ่งผู้บุกเบิกอย่างจริงจังในการใช้บทภาพ คือ บริษัทเดอะวอลต์ ดิสนีย์ ได้ริเริ่มขึ้นราว พ.ศ. ๒๔๗๓ และได้นำมาใช้กันอย่างแพร่หลายจนถึงปัจจุบัน ซึ่งแม้แต่ภาพยนตร์ก็ต้องใช้วิธีการวาดบทภาพ ก่อนถ่ายทำด้วยเช่นกัน

๔. ร่างช่วงภาพ (animatic) คือ การนำบทภาพทั้งหมดมาตัดต่อร้อยเรียงพร้อมใส่เสียงพากย์ของตัวละครทั้งหมด (นี่คือ ข้อแตกต่างระหว่างภาพยนตร์แอนิเมชันและภาพยนตร์ทั่วไป เพราะภาพยนตร์แอนิเมชันจำเป็นต้องตัดต่อก่อนที่จะผลิต  เพื่อจะได้รู้เวลาและการเคลื่อนไหวในแต่ละช็อตภาพ (shot) อย่างแม่นยำ ส่วนภาพยนตร์ที่ใช้คนแสดงนั้น จะตัดต่อภายหลังการถ่ายทำ)

๒. ขั้นตอนการทำ (Production)

เป็นขั้นตอนที่ทำให้ภาพตัวละครต่างๆ มีความสมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะกำหนดว่า ภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่องนั้น จะสวยงามมากหรือน้อยเพียงใด ประกอบด้วย
วางผัง (layout) คือ การกำหนดมุมภาพ และตำแหน่งของตัวละครอย่างละเอียด รวมทั้งวางแผนว่า ในแต่ละช็อตภาพนั้น ตัวละครจะต้องเคลื่อนไหว หรือแสดงสีหน้าอารมณ์อย่างไร ซึ่งหากทำภาพยนตร์แอนิเมชันกันเป็นทีม ก็จะต้องประชุมร่วมกันว่า แต่ละฉาก จะมีอะไรบ้าง เพื่อให้แบ่งงานกันได้อย่างถูกต้อง ซึ่งหลังจากเสร็จขั้นตอนนี้แล้ว จึงสามารถแบ่งงานให้แก่ทีมผู้ทำแอนิเมชัน และทีมฉาก แยกงานไปทำได้
 ทำให้เคลื่อนไหว (animate) คือ การทำให้ตัวละครเคลื่อนไหวตามบทในแต่ละฉากนั้นๆ ในขั้นตอนนี้สำคัญอย่างยิ่ง เปรียบเสมือนการกำกับนักแสดงว่า จะเล่นได้ดีหรือไม่ ซึ่งหากทำขั้นตอนนี้ได้ไม่ดีพอ ก็อาจทำให้ผู้ชมไม่รู้สึกมีอารมณ์ร่วมไปกับตัวละครด้วย ส่วนแอนิเมชันแบบภาพแสดงมิติมีวิธีการทำ โดยวาดภาพลงบนแผ่นพลาสติกโปร่งใสในแต่ละฉากของเรื่อง และเมื่อแบ่งย่อยลงไปอาจประกอบไปด้วยส่วนต่างๆ เช่น ตัวละคร ต้นไม้ แม่น้ำ ภูเขา ดวงอาทิตย์ ตัวละครแต่ละตัวหรือสิ่งของแต่ละชิ้นจะถูกนำไปวาดลงบนแผ่นใสแต่ละแผ่น เมื่อนำแผ่นใสแต่ละแผ่นมาวางซ้อนกัน แล้วถ่ายภาพด้วยกล้องถ่ายภาพที่ได้รับการออกแบบมาเป็นพิเศษ ก็จะได้ภาพการ์ตูน ๑ ภาพ ที่ประกอบไปด้วยตัวละครและฉาก ในการสร้างภาพการ์ตูนให้เคลื่อนไหว ผู้ทำแอนิเมชัน (animator) จะต้องกำหนดลงไปว่า ในแต่ละวินาที ตัวละครหรือสิ่งของในฉากหนึ่งๆ จะเปลี่ยนตำแหน่งหรืออิริยาบถไปอย่างไร ทั้งนี้ ผู้ทำแอนิเมชันจะต้องวาด หรือกำหนดอิริยาบถหลัก หรือคีย์ภาพ (key) ของแต่ละวินาที หลังจากนั้นผู้ทำแอนิเมชันคนอื่นๆ ก็จะวาดลำดับการเปลี่ยนแปลงอีกจำนวนหนึ่ง (ซึ่งโดยทั่วไปจะใช้ ๒๔ ภาพ) เพื่อแสดงให้เห็นถึงการเคลื่อนไหวจากคีย์ภาพหนึ่ง ไปสู่อีกคีย์ภาพหนึ่ง ภาพวาดจำนวนมหาศาลระหว่างแต่ละคีย์ภาพเรียกว่า ภาพช่วงกลาง (in-betweens) ในการวาดภาพการ์ตูน ผู้วาดภาพที่วาดคีย์ภาพต่างๆ เรียกว่า ผู้วาดภาพหลัก (key animator) ซึ่งต้องเป็นนักวาดภาพที่มีฝีมือ ส่วนผู้วาดภาพอีกจำนวนหนึ่งที่ทำหน้าที่วาดภาพระหว่างภาพหลักเรียกว่า ผู้วาดภาพช่วงกลาง (in-betweener) นอกจากผู้วาดภาพแล้ว ก็มีผู้ลงสี (painter) ซึ่งมีหน้าที่ลงสี หรือระบายสีภาพให้สวยงาม

ฉากหลัง (background) ฝ่ายฉากเป็นฝ่ายที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าฝ่ายอื่นๆ เพราะฉากช่วยสื่ออารมณ์ได้เช่นเดียวกับตัวละคร เนื่องจากสีและแสงที่ต่างกันย่อมให้อารมณ์ที่ไม่เหมือนกัน และฉากยังช่วยเสริมอารมณ์ของผู้ชมได้มากขึ้น

๓. ขั้นตอนหลังการทำ (Postproduction)

เป็นขั้นตอนปิดท้าย ได้แก่

๑. การประกอบภาพรวม (compositing) คือ ขั้นตอนในการนำตัวละครและฉากหลังมารวมเป็นภาพเดียวกัน ซึ่งทั้งแอนิเมชันแบบภาพสองมิติและภาพสามมิติ ต่างต้องใช้กระบวนการนี้ทั้งสิ้น ในกระบวนการนี้ มีการปรับแสงและสีของภาพ ให้มีความกลมกลืนกัน ไม่ให้สีแตกต่างกัน