วิวัฒนาการของแอนิเมชัน
ดังที่ได้กล่าวในตอนต้นแล้วว่า แอนิเมชันเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมา ดังนั้น ประวัติความเป็นมาของการสร้างแอนิเมชัน จึงพอประมวลได้ ดังนี้
แอนิเมชันกับอารยธรรมมนุษย์
ตั้งแต่ยุคสมัยโบราณมาแล้ว มนุษย์มีความปรารถนาที่จะสร้างภาพการเคลื่อนไหวของสิ่งต่างๆ ดังเห็นได้จาก การค้นพบภาพเขียนบนผนังถ้ำ ซึ่งเป็นภาพหมูป่าที่มี ๘ ขา โดยจำลองการเคลื่อนไหวของหมูป่า หรือแม้แต่สมัยของกรีกโบราณช่วง ๖๐๐ ปีก่อนคริสต์ศักราช ก็ปรากฏภาพเขียนคนขับรถม้า ที่มีการวาดขาของม้าหลายๆ ขา ทำให้ดูเหมือนม้าที่กำลังวิ่ง
ภาพศิลปะอันโด่งดังที่ชื่อ “Vitruvius Man” ของ Leonardo da Vinci ถือเป็นงานที่แสดงถึงการจำลองการเคลื่อนไหวของมนุษย์เช่นกัน
เมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๘ จอห์น ไอร์ตัน ปารีส (John Ayrton Paris) และดับบลิว.เอช. ฟิตตัน (W.H. Fitton) ได้ประดิษฐ์ของเล่นชิ้นพิเศษชื่อว่า “Thaumatrope” (เป็นคำที่มาจากภาษากรีกแปลว่า “หมุนมหัศจรรย์”) เป็นภาพกระดาษวงกลม ด้านหนึ่งวาดเป็นรูปนก อีกด้านหนึ่งวาดเป็นรูปกรงและผูกเชือกทั้ง ๒ ด้าน จากนั้น จึงดึงเชือกให้พลิกไปมาอย่างรวดเร็ว ก็จะเป็นภาพซ้อนหลอกตาให้เห็นว่านกเข้าไปอยู่ในกรงได้อย่างน่ามหัศจรรย์ ของเล่น Thaumatrope จึงนับเป็นสิ่งประดิษฐ์ชิ้นแรกๆ ที่สร้างภาพแอนิเมชันได้อย่างชัดเจน หลังจากนั้นเป็นต้นมา เทคโนโลยีด้านการบันทึกภาพต่างๆ ได้พัฒนาอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด
ดังที่ได้กล่าวในตอนต้นแล้วว่า แอนิเมชันเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมา ดังนั้น ประวัติความเป็นมาของการสร้างแอนิเมชัน จึงพอประมวลได้ ดังนี้
แอนิเมชันกับอารยธรรมมนุษย์
ตั้งแต่ยุคสมัยโบราณมาแล้ว มนุษย์มีความปรารถนาที่จะสร้างภาพการเคลื่อนไหวของสิ่งต่างๆ ดังเห็นได้จาก การค้นพบภาพเขียนบนผนังถ้ำ ซึ่งเป็นภาพหมูป่าที่มี ๘ ขา โดยจำลองการเคลื่อนไหวของหมูป่า หรือแม้แต่สมัยของกรีกโบราณช่วง ๖๐๐ ปีก่อนคริสต์ศักราช ก็ปรากฏภาพเขียนคนขับรถม้า ที่มีการวาดขาของม้าหลายๆ ขา ทำให้ดูเหมือนม้าที่กำลังวิ่ง
ภาพศิลปะอันโด่งดังที่ชื่อ “Vitruvius Man” ของ Leonardo da Vinci ถือเป็นงานที่แสดงถึงการจำลองการเคลื่อนไหวของมนุษย์เช่นกัน
เมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๘ จอห์น ไอร์ตัน ปารีส (John Ayrton Paris) และดับบลิว.เอช. ฟิตตัน (W.H. Fitton) ได้ประดิษฐ์ของเล่นชิ้นพิเศษชื่อว่า “Thaumatrope” (เป็นคำที่มาจากภาษากรีกแปลว่า “หมุนมหัศจรรย์”) เป็นภาพกระดาษวงกลม ด้านหนึ่งวาดเป็นรูปนก อีกด้านหนึ่งวาดเป็นรูปกรงและผูกเชือกทั้ง ๒ ด้าน จากนั้น จึงดึงเชือกให้พลิกไปมาอย่างรวดเร็ว ก็จะเป็นภาพซ้อนหลอกตาให้เห็นว่านกเข้าไปอยู่ในกรงได้อย่างน่ามหัศจรรย์ ของเล่น Thaumatrope จึงนับเป็นสิ่งประดิษฐ์ชิ้นแรกๆ ที่สร้างภาพแอนิเมชันได้อย่างชัดเจน หลังจากนั้นเป็นต้นมา เทคโนโลยีด้านการบันทึกภาพต่างๆ ได้พัฒนาอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด
ของเล่น "Thaumatrope" (หมุนมหัศจรรย์)
เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่สร้างภาพแอนิเมชันได้อย่างชัดเจน
ต่อมา ใน พ.ศ. ๒๔๕๗ วินเซอร์ แมกเคย์ (Winsor McCay) นักวาดการ์ตูนชาวอเมริกัน
ได้จัดแสดงภาพยนตร์การ์ตูนแอนิเมชัน ผลงานของตนเองเรื่อง “เจอร์ที เดอะ ไดโนเสาร์” (Gertie the Dinosaur) ที่เมืองชิคาโก สหรัฐอเมริกา โดยแมกเคย์ได้ขึ้นแสดงบนเวทีร่วมกับเจอร์ที (Gertie)
ตัวการ์ตูนไดโนเสาร์ที่ถูกฉายภาพบนจอ ด้วยนิสัยของเจอร์ที
ตัวการ์ตูนไดโนเสาร์ที่ซุกซนและแสนรู้ ทำให้ผู้ชมเกิดความประทับใจเป็นอย่างมาก
จากความสำเร็จของเรื่องนี้ ทำให้ภาพยนตร์แอนิเมชันกลายเป็นจุดสนใจของผู้คนอย่างแพร่หลาย
บรรดานักลงทุนจึงหันมาลงทุนผลิตงานแขนงนี้มากขึ้น
จนก่อให้เกิดอุตสาหกรรมแอนิเมชันในเวลาต่อมา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น