สาเหตุของอุบัติเหตุในการจราจรทางน้ำ
อุบัติเหตุทางน้ำอาจเกิดจากสาเหตุที่สำคัญ 2 ประการดังนี้
1. ตัวบุคคล 2.
สภาพแวดล้อม
ตัวบุคคล สาเหตุของอุบัติเหตุทางน้ำ
มักเกิดจากผู้ขับเรือ และผู้โดยสารดังนี้
ผู้ขับเรือ
1. ขาดความรู้ความสามารถ
หรือความเชี่ยวชาญในการขับเรือ อาจทำให้หลงทาง คาดการณ์ลวงหน้าผิด
2. ขาดความระมัดระวังในการขับเรือ
หรือข้นเรือด้วยความคึกคะนอง
3. ฝ่าฝืนกฎหมาย เช่น
ขับเรือด้วยความเร็ว ขับเรือตัดหน้าเรือลำอื่น
4. ผู้ขับเรือมีสุขภาพไม่สมบูรณ์
หรือพิการ หรือมีการเจ็บป่วย เช่น เป็นโรคหัวใจ โรคลมบ้าหมู ความผิดปกติทางหู
ความผิดปกติทางตา เป็นไข้เป็นหวัด
5. ผู้ขับเรือเมาสุราหรือเสพสิ่งเสพติดเข้าไป
ขณะขับเรือ ทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นได้
6. สภาพจิตใจที่ไม่เป็นปกติของผู้ขับเรือ
ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ เช่นความวิตกกังวล ความเครียด
ผู้โดยสารทางเรือ
1. ผู้โดยสารเรือขาดความระมัดระวังในการขึ้น-ลง
หรือโดยสารเรือ
2. ผู้โดยสารเรือหยอกล้อกันเล่นขณะโดยสารเรือ
3. ผู้โดยสารเรือไม่นั่งประจำที่
หรือไปนั่งที่กาบเรือ ลุกเดินไป - มา ขณะที่เรือกำลังแล่นอยู่
4. ผู้โดยสารมีสภาพร่างกาย
และจิตใจไม่สมบูรณ์ เช่น โรคลมบ้าหมู เป็นลม วิงเวียนศีรษะ หงุดหงิด
5. ผู้โดยสารเรือดื่มสุรา มึนเมา
และส่งเสียงเอะอะโวยวาย หรือก่อความไม่สงบให้แก่ผู้ขับเรือ และผู้โดยสารอื่นๆ
สภาพแวดล้อม สภาพแวดล้อมเป็นปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุทางน้ำได้ดังนี้
1. สภาพของเรือ
เรือที่มีสภาพใช้งานไม่ได้ ชำรุดทรุดโทรม เรือรั่ว เรือที่มีอายุการใช้งานยาวนาน
และไม่มีการตรวจสอบ สภาพของเรือ หรือเครื่องจักรกล ที่ใช้งานไม่ได้
ย่อมมีส่วนทำให้เกิดอุบัติเหตุได้เสมอ
2. สภาพดินฟ้าอากาศ
สภาพภูมิอากาศที่ไม่แน่นอน ฝนตกหนัก หมอกลงจัด พายุ ลมใต้ฝุ่น หากผู้ขับเรือ
ขาดความระมัดระวัง หรือใช้เรือในขณะที่ เกิดภัยธรรมชาติ
ย่อมเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ
3. สภาพของแม่น้ำลำคลอง ทะเล
หรือมหาสมุทร ไม่เอื้ออำนวยต่อการเดินทาง และมีผลให้เกิด อุบัติเหตุขึ้นได้ เช่น
น้ำไหลเชี่ยว คลื่นแรง มีคลื่นใต้น้ำ มีตอ หรือหินโสโครกใต้น้ำ
4. การบรรทุกเรือ การบรรทุกคนโดยสาร
หรือสิ่งของที่เกินอัตรา ที่กำหนดไว้ หรือบรรทุกไม่ถูกต้อง ตามกฎเกณฑ์
ย่อมก่อให้เกิดอุบัติเหตุ เช่น การบรรทุกคน หรือสิ่งของบนหลังเรือ หรือบนดานฟ้า
การบรรทุก สิ่งของจำพวก โลหะ หรือหินซึ่งมีน้ำหนักมาก
การป้องกันอุบัติเหตุจาการเดินทางโดยทางน้ำ
อุบัติเหตุจากการเดินทางโดยทางน้ำ
สามารถป้องกันได้โดยปฏิบัติดังนี้
1. ผู้ขับเรือควรศึกษาหาความรู้
หรือได้รับการอบรม เกี่ยวกับการใช้เรือ และฝึกหัดการขับเรือ ให้มีความชำนาญเพียงพอ
ก่อนที่จะนำเรือออกวิ่ง
2. ผู้ใช้เรือควรศึกษาสภาพภูมิอากาศต่างๆ
ก่อนที่จะใช้เรือ หรือเดินทางโดยทางน้ำ หากมีสาเหตุใด
ที่อาจก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัยขึ้น ควรงด หรือลีกเลี่ยงการเดินทาง
3. ก่อนที่จะนำเรือออกวิ่ง
ผู้ขับเรือควรตรวจสอบสภาพการใช้งานของเรือทุกครั้ง และหมั่นตรวจสอบสภาพเรือ
และเครื่องจักรสม่ำเสมอทุกๆ ปีด้วย
4. ผู้ขับเรือและผู้โดยสารเรือ
ควรมีสภาพร่างกาย และจิตใจที่สมบูรณ์ขณะเดินทางด้วยเรือ เช่น ไม่เจ็บป่วย
ไม่มีอาการง่วงนอนหรืออ่อนเพลีย
5. ผู้ขับเรือด้วยความระมัดระวัง
เช่น ลดความเร็วเมื่อขับถึงใกล้ฝัง ระมัดระวังขณะที่เรือลำอื่นแล่นผ่านสวนทางมา
ไม่เติมน้ำมันขณะที่เครื่องกำลังทำงาน เป็นต้น
6. ผู้ใช้เรือควรระมัดระวังในการใช้
หรือโดยสารเรือ เช่น ขับเรือด้วยความไม่ประมาท ปฏิบัติการจราจรทางน้ำ ไม่ดื่มสุรา
หรือเสพสิ่งเสพติด ขณะขับเรือ หรือโดยสารเรือ ผู้โดยสารเรือไม่แย่ง
หรือเบียดกันขณะขึ้น – ลงเรือ ไม่กระโดลงเรือ ไม่ยื่นแขน ขา
หรือศีรษะออกไปนอกเรือ และไม่เล่น หรือหยอกล้อกันบนเรือ
7. ควรจัดเตรียมอุปกรณ์
เครื่องอะไหล่ เครื่องดับเพลิง และเครื่องดับเพลิง และเครื่องชูชีพไว้ให้พร้อม
หากเกิดกรณีฉุกเฉิน จะได้แก้ไขได้ทันท่วงที
8. ควรบรรทุกเรือ
ให้ถูกต้องตามกฎเกณฑ์ ไม่บรรทุกคนโดยสาร หรือสิ่งของจำนวนมากเกินไปตามปกติ
ให้ถือเกณฑ์เนื้อที่ 0.37 ตารางเมตร หรือ 4 ตารางฟุตต่อผู้โดยสาร 1 คน ถ้าเด็กอายุต่ำกว่า 12
ปี และสูงไม่เกิน 130 เซนติเมตร ให้นับ 2
คน เท่ากับผู้โดยสาร 1 คน ส่วนเด็กอ่อนอายุ 3
ปี และต่ำกว่า ซึ่งไปกับพ่อแม่ผู้ปกครองด้วยนั้น
จะยกเว้นไม่ต้องมีการนับจำนวน
9. ผู้ขับเรือและผู้โดยสาร
ควรจะว่ายน้ำเป็น เพื่อจะได้สามารถช่วยตัวเองได้ ขณะเกิดอุบัติเหตุ “ผู้ที่ว่ายน้ำไม่เป็น ไม่ควรเดินทางโดยทางเรือ”
1. ตัวบุคคล 2. สภาพแวดล้อม
ผู้ขับเรือ
1. ขาดความรู้ความสามารถ หรือความเชี่ยวชาญในการขับเรือ อาจทำให้หลงทาง คาดการณ์ลวงหน้าผิด
2. ขาดความระมัดระวังในการขับเรือ หรือข้นเรือด้วยความคึกคะนอง
3. ฝ่าฝืนกฎหมาย เช่น ขับเรือด้วยความเร็ว ขับเรือตัดหน้าเรือลำอื่น
4. ผู้ขับเรือมีสุขภาพไม่สมบูรณ์ หรือพิการ หรือมีการเจ็บป่วย เช่น เป็นโรคหัวใจ โรคลมบ้าหมู ความผิดปกติทางหู ความผิดปกติทางตา เป็นไข้เป็นหวัด
5. ผู้ขับเรือเมาสุราหรือเสพสิ่งเสพติดเข้าไป ขณะขับเรือ ทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นได้
6. สภาพจิตใจที่ไม่เป็นปกติของผู้ขับเรือ ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ เช่นความวิตกกังวล ความเครียด
ผู้โดยสารทางเรือ
1. ผู้โดยสารเรือขาดความระมัดระวังในการขึ้น-ลง หรือโดยสารเรือ
2. ผู้โดยสารเรือหยอกล้อกันเล่นขณะโดยสารเรือ
3. ผู้โดยสารเรือไม่นั่งประจำที่ หรือไปนั่งที่กาบเรือ ลุกเดินไป - มา ขณะที่เรือกำลังแล่นอยู่
4. ผู้โดยสารมีสภาพร่างกาย และจิตใจไม่สมบูรณ์ เช่น โรคลมบ้าหมู เป็นลม วิงเวียนศีรษะ หงุดหงิด
5. ผู้โดยสารเรือดื่มสุรา มึนเมา และส่งเสียงเอะอะโวยวาย หรือก่อความไม่สงบให้แก่ผู้ขับเรือ และผู้โดยสารอื่นๆ
สภาพแวดล้อม สภาพแวดล้อมเป็นปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุทางน้ำได้ดังนี้
1. สภาพของเรือ เรือที่มีสภาพใช้งานไม่ได้ ชำรุดทรุดโทรม เรือรั่ว เรือที่มีอายุการใช้งานยาวนาน และไม่มีการตรวจสอบ สภาพของเรือ หรือเครื่องจักรกล ที่ใช้งานไม่ได้ ย่อมมีส่วนทำให้เกิดอุบัติเหตุได้เสมอ
2. สภาพดินฟ้าอากาศ สภาพภูมิอากาศที่ไม่แน่นอน ฝนตกหนัก หมอกลงจัด พายุ ลมใต้ฝุ่น หากผู้ขับเรือ ขาดความระมัดระวัง หรือใช้เรือในขณะที่ เกิดภัยธรรมชาติ ย่อมเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ
3. สภาพของแม่น้ำลำคลอง ทะเล หรือมหาสมุทร ไม่เอื้ออำนวยต่อการเดินทาง และมีผลให้เกิด อุบัติเหตุขึ้นได้ เช่น น้ำไหลเชี่ยว คลื่นแรง มีคลื่นใต้น้ำ มีตอ หรือหินโสโครกใต้น้ำ
4. การบรรทุกเรือ การบรรทุกคนโดยสาร หรือสิ่งของที่เกินอัตรา ที่กำหนดไว้ หรือบรรทุกไม่ถูกต้อง ตามกฎเกณฑ์ ย่อมก่อให้เกิดอุบัติเหตุ เช่น การบรรทุกคน หรือสิ่งของบนหลังเรือ หรือบนดานฟ้า การบรรทุก สิ่งของจำพวก โลหะ หรือหินซึ่งมีน้ำหนักมาก
1. ผู้ขับเรือควรศึกษาหาความรู้ หรือได้รับการอบรม เกี่ยวกับการใช้เรือ และฝึกหัดการขับเรือ ให้มีความชำนาญเพียงพอ ก่อนที่จะนำเรือออกวิ่ง
2. ผู้ใช้เรือควรศึกษาสภาพภูมิอากาศต่างๆ ก่อนที่จะใช้เรือ หรือเดินทางโดยทางน้ำ หากมีสาเหตุใด ที่อาจก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัยขึ้น ควรงด หรือลีกเลี่ยงการเดินทาง
3. ก่อนที่จะนำเรือออกวิ่ง ผู้ขับเรือควรตรวจสอบสภาพการใช้งานของเรือทุกครั้ง และหมั่นตรวจสอบสภาพเรือ และเครื่องจักรสม่ำเสมอทุกๆ ปีด้วย
4. ผู้ขับเรือและผู้โดยสารเรือ ควรมีสภาพร่างกาย และจิตใจที่สมบูรณ์ขณะเดินทางด้วยเรือ เช่น ไม่เจ็บป่วย ไม่มีอาการง่วงนอนหรืออ่อนเพลีย
5. ผู้ขับเรือด้วยความระมัดระวัง เช่น ลดความเร็วเมื่อขับถึงใกล้ฝัง ระมัดระวังขณะที่เรือลำอื่นแล่นผ่านสวนทางมา ไม่เติมน้ำมันขณะที่เครื่องกำลังทำงาน เป็นต้น
6. ผู้ใช้เรือควรระมัดระวังในการใช้ หรือโดยสารเรือ เช่น ขับเรือด้วยความไม่ประมาท ปฏิบัติการจราจรทางน้ำ ไม่ดื่มสุรา หรือเสพสิ่งเสพติด ขณะขับเรือ หรือโดยสารเรือ ผู้โดยสารเรือไม่แย่ง หรือเบียดกันขณะขึ้น – ลงเรือ ไม่กระโดลงเรือ ไม่ยื่นแขน ขา หรือศีรษะออกไปนอกเรือ และไม่เล่น หรือหยอกล้อกันบนเรือ
7. ควรจัดเตรียมอุปกรณ์ เครื่องอะไหล่ เครื่องดับเพลิง และเครื่องดับเพลิง และเครื่องชูชีพไว้ให้พร้อม หากเกิดกรณีฉุกเฉิน จะได้แก้ไขได้ทันท่วงที
8. ควรบรรทุกเรือ ให้ถูกต้องตามกฎเกณฑ์ ไม่บรรทุกคนโดยสาร หรือสิ่งของจำนวนมากเกินไปตามปกติ ให้ถือเกณฑ์เนื้อที่ 0.37 ตารางเมตร หรือ 4 ตารางฟุตต่อผู้โดยสาร 1 คน ถ้าเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี และสูงไม่เกิน 130 เซนติเมตร ให้นับ 2 คน เท่ากับผู้โดยสาร 1 คน ส่วนเด็กอ่อนอายุ 3 ปี และต่ำกว่า ซึ่งไปกับพ่อแม่ผู้ปกครองด้วยนั้น จะยกเว้นไม่ต้องมีการนับจำนวน
9. ผู้ขับเรือและผู้โดยสาร ควรจะว่ายน้ำเป็น เพื่อจะได้สามารถช่วยตัวเองได้ ขณะเกิดอุบัติเหตุ “ผู้ที่ว่ายน้ำไม่เป็น ไม่ควรเดินทางโดยทางเรือ”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น